ประวัติการ กินเจ - อาหาร เจ หมาย ถึง – ความหมายของการกินเจ

ความหมายของการกินเจ

     คำว่า “กินเจ” คือ ไม่คาว หรือถ้าแปลตามตัว จะหมายถึง การรับประทานอาหาร ก่อนเที่ยงวัน ซึ่งในความหมาย ของชาวพุทธ ก็คือการรักษาศีล นั่นเอง อาหารเจ จึงเกิดขึ้นเนื่องมาจาก การถืออุโบสถศีล ของพุทธศาสนิกชน ฝ่ายมหายาน ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ด้วยเหตุนี้ การกินอาหารเจ จึงไม่นิยมรับประทาน เนื้อสัตว์ แต่ในปัจจุบันการกินเจ ถึงแม้ว่าจะ รับประทานอาหาร ทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่รับประทานอาหาร ที่มีส่วนประกอบของ เนื้อสัตว์อยู่ด้วยก็ยังเรียกว่า “กินเจ” ดังนั้น หากพุทธศาสนิกชนที่ ต้องการบำเพ็ญธรรม ด้วยการกินเจ ก็ต้องตั้งตนอยู่ใน ศีลธรรมอันดีงามด้วย ถึงจะเรียกว่าเป็น การกินเจที่แท้จริง

     สำหรับคำว่า เจ ในความหมายทางพุทธศาศนานิกาย มหายาน หมายความว่า อุโบสภ และคำว่า กินเจ ก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยง นั่นจึงหมายความว่า เป็นการให้ ชาวพุทธถือ อุโบสถศีล หรือ การักษา ศึลแปด ของชาวพุทธ นั่นเอง และในการถือศีล ของชาวพุทธนิกายมหายาน คือการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ จึงมีการเรียกรวมกันว่า การไม่กินเนื้อสัตว์ รวมไปกับคำว่า กินเจ นับเป็นการถือศีล ในทางพุทธศาสนานั่นเอง

การกินเจ ในปัจจุบันสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • การกินเจในช่วงเทศการกินเจ จะมีระยะเวลา 9 วัน คือ ช่วงวันขึ้น 1 ค่ำจนกระทั่งถึงวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินของชาวจีน
  • การกินเจ ที่มีการละเว้นหรือการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ เป็นประจำทุกวัน ทั้ง 3 มื้อ

การปฏิบัติตนในช่วงกินเจ

  • เว้นจาการฆ่าสัตว์
  • งดการรับประทานอาหารที่ทำมาจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ น้ำมันที่ได้มาจากสัตว์ ฯลฯ
  • เว้นจาการรับประทานอาหารที่มีรสจัด
  • ทำจิตใจให้บริสุทธิ์
  • ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม
  • ไม่ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศ ที่มีกลิ่นแรง
  • ถ้าเป็นไปได้ควรนุ่งขาวห่มขาว รักษาศึล 5 หรือศีล 8 ก็จะเป็นการดีมาก
ประวัติการ กินเจ - อาหาร เจ หมาย ถึง – ความหมายของการกินเจ

กินเจ อย่างไรถึงจะได้ สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่

การกินเจ คือการไม่รับประทาน อาหารที่ปรุงมาจาก เนื้อสัตว์ ซึ่งการกินเจ สามารถแบ่งออก ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ การกินเจเพื่อสุขภาพ เนื่องจาก การรับประทาน อาหารจำพวก พืชผักผลไม้ จะช่วยในการปรับ ระบบการไหลเวียนของโลหิต กับระบบทางเดินอาหาร

อ่านต่อ...