ถั่วเหลือง - นม ถั่วเหลือง สูตร เจ - คุณค่าของธัญพืช สำหรับอาหารเจ

ถั่วเหลือง

     ถั่วเหลือง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ คือ Glycine max ลักษณะเป็นพืชในตะกูล พืชล้มลุก มีความสูงอยู่ที่ประมาณ 30 - 90 เซนติเมตร ลำต้นจะมีขนเล็กๆ ปกคลุมอยู่ ในประเทศไทย ส่วนมากจะนิยมปลูก ถั่วเหลือง ในแถบภาคเหนือ และในแถบภาคกลางตอนบน ส่วนชื่อของถั่วเหลืองนั้น จะเรียกได้หลายชื่อตามแต่ละภาคจะเรียกกัน เช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือ ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง มะถั่วเน่า เป็นต้น

     ถั่วเหลืองนับได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญ เนื่องจาก ในประเทศไทย สามารถจะปลูกถั่วเหลืองได้ ตลอดทั้งปีขึ้นอยู่กับพื้นที่ และการชลประทาน และเหมาะสำหรับการปลูก สลับกับการปลูกข้าว จะช่วยในการปรับปรุงสภาพ ของหน้าดินได้เป็นอย่างดี

     จากการศึกษาพบว่า ถั่วเหลือง ยังมีความสามารถ ในการป้องกัน การเป็นโรคหัวใจ ป้องกันการเป็นโรคมะเร็งได้ เนื่องจาก สารอาหารในถั่วเหลือง สามารถที่จะลดระดับ โคเลสเตอรอล ในร่างกายได้ และโปรตีนที่ได้จาก การรับประทานถั่วเหลือง ยังลดการขับแคลเซียม ออกจาก ร่างกายได้น้อยกว่า โปรตีนที่ได้จาก การรับประทานเนื้อสัตว์ ซึ่งลดการเป็น โรคกระดูกเปราะ ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ถั่วเหลือง ยังมีกรดอะมิโน ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย และยังมี กรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ร่างกาย ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ที่มีประโยชน์ใน การลดโคเลสเตอรอล ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว และต่อต้าน การเกิดของเซลล์มะเร็ง ได้เป็นอย่างดี

     นอกจากนี้ นมถั่วเหลือง ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วย แหล่งคุณค่าทาง โภชนาการ ทั้งวิตามิน และแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อชีวิต ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินอี แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไนอะชิน เลซิติน เป็นต้น

ถั่วเหลืองปริมาณต่อ 100 กรัม

  • ให้พลังงานแคลอรี(kcal) 446 กิโลแคลลอรี
  • ไขมันทั้งหมด 20 กรัม ประกอบด้วย ไขมันอิ่มตัว 2.9 กรัม, ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 11 กรัม, กรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยว 4.4 กรัม
  • โซเดียม ปริมาณ 2 มิลลิกรัม
  • โพแทสเซียม ปริมาณ 1,797 มิลลิกรัม
  • คาร์โบไฮเดรต ปริมาณ 30 กรัม
  • เส้นใยอาหาร ปริมาณ 9 กรัม
  • น้ำตาล ปริมาณ 7 กรัม
  • โปรตีน ปริมาณ 36 กรัม
ถั่วเหลือง - นม ถั่วเหลือง สูตร เจ - คุณค่าของธัญพืช สำหรับอาหารเจ

หอยนางรม เป็นอาหารเจไหม

หอยนางรม ( Oyster ) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Saccostrea commercialis สามารถแบ่งได้เป็น 2 พวก ได้แก่ พันธุ์เล็ก ที่นิยมเรียกกันว่า หอยเจาะ หรือหอยปากจีบ และพันธุ์ใหญ่ ที่นิยมเรียกกันว่า หอยนะโกรม

อ่านต่อ...