สมุนไพร รักษา โรค - พืช สมุนไพร - สมุนไพรยาไทยในอาหาร

สมุนไพรในอาหาร

     ในการปรุงอาหารไทยนั้น เครื่องเทศ และพืชผักต่างๆ ที่นำมาใช้ล้วนแต่เป็นพืช สมุนไพร ทั้งสิ้น ซึ่งจะมีสรรพคุณ เป็นทั้งยารักษาโรค หรือยาบรรเทาอาการ ของโรคต่างๆ บางครั้งผู้บริโภคเอง อาจจะรู้หรือไม่รู้ถึง สรรพคุณ หรือประโยชน์ ของวัตถุดิบที่นำมาประกอบ อาหารนั้นๆ

ตัวอย่าง สมุนไพร ที่ใช้เป็นส่วนประกอบ ในการปรุงอาหารต่างๆ มีดังนี้

  • กระเพรา มีสรรพคุณ ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียด แก้อาการปวดท้อง ช่วยขับเหงื่อ ลดการคลื่นไส้อาเจียน
  • กระชาย  มีสรรพคุณ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้ท้องอืดจุกเสียดแน่นเฟ้อ บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ
  • ใบแมงลัก มีสรรพคุณ เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้ไอ แก้โรคผิวหนัง บำรุงน้ำนม เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • โหระพา มีสรรพคุณ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • สะระแหน่  มีสรรพคุณ แก้อาการปวดท้อง ช่วยขับลมขับเหงื่อ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยระงับกลิ่นปาก
  • ตะไคร้ มีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร ลดความดันโลหิต ขับลม แก้ไข้ แก้ตกขาว แก้อาเจียน ปวดท้อง นิ่ว
  • มะกรูด มีสรรพคุณ ช่วยขับลม แก้วิงเวียน
  • ข่า มีสรรพคุณ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด แก้บิด ช่วยขับเสมหะ
  • ขิง มีสรรพคุณ ช่วยขับลม ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ ป้องกันอากรอักเสบ ช่วยต้านมะเร็ง
  • พริกชี้ฟ้า มีสรรพคุณ ช่วยขับลม ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยขับเสมหะ ช่วยบำรุงธาตุ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
  • ยี่หร่า มีสรรพคุณ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้ปวดท้อง ช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • พริกไทยดำ มีสรรพคุณ ช่วยขับลม ลดไข้ ช่วยให้เจริญอาหาร
  • กระเทียม มีสรรพคุณ ช่วยลดความดันโลหิต กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • หอมเล็ก มีสรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับลม ช่วยขับประจำเดือน แก้ไข้หวัด ช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหาร
  • ขมิ้น มีสรรพคุณ ช่วยขับลม ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ ลดอาการแน่นจุกเสียด แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารยับยั้งการหลั่งน้ำย่อย
  • อบเชย มีสรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ เป็นยาขับลม แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยให้ร่างกายมีความสดชื่น
  • กานพลู มีสรรพคุณ ช่วยในการขับลม และย่อยอาหาร
สมุนไพร รักษา โรค - พืช สมุนไพร - สมุนไพรยาไทยในอาหาร

ใบกระเพรา

กระเพรา มีชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ ว่า “Ocimum sanctum” กระเพราจะมีอยู่ด้วยกัน 3 พันธุ์ คือ กระเพราขาว กระเพราแดง และกระเพราลูกผสมระหว่าง กระเพราแดงกับกระเพราขาว กระเพรา จะเป็นไม้ล้มลุก มีความสูงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30 – 60 เซนติเมตร ต้นกระเพรา จะแตกกิ่งก้านสาขา ออกเป็นไม้พุ่มเตี้ยๆ

อ่านต่อ...